มุฮัมมัดได้ก่อตั้งอิสลามขึ้นเป็นศาสนาใหม่?
เป็นภาระกิจของท่านศาสดามูฮัมมัด
(ซ.ล)
ที่ได้ก่อตั้งศาสนาขึ้นมาใหม่พร้อมกับกฎหมายใหม่ขึ้นมาแทนระบบของยิว
และคริสต์
ที่ล้าสมัยเกินไปเหตุผลนี้มุสลิมส่วนมากไม่ต้องการให้ไปกระทบกับชาวคริสต์
หรือยิว ของคริสต์ก็ดีอยู่แล้ว
ซึ่งหลังจากนั้นผู้คนทั่วโลกได้รู้จักอิสลามมากว่า 600 ปี
หลังจากที่ได้เกิดขึ้นต่อจากศาสนาคริสต์
จึงได้มีการเผยแพร่อิสลาม และสอนคัมภีร์อัลกุรอ่าน
แต่ว่าพันธกิจของท่านศาสดามูฮัมมัดที่ได้ก่อตั้งศาสนาใหม่ยังไม่สมบูรณ์
แต่ดีกว่าในยุคของท่านอิบรอฮีม ดังมีปรากฏในซูเราะฮ์อันนะฮ์ละ
อายะฮ์ที่ 123
แล้วเราได้ว่าฮีแก่เจ้าว่า “
จงปฏิบัติตามศาสนาของอิบรอฮีมผู้เที่ยงธรรม
และเขามิได้อยู่ในหมู่ผู้ตั้งภาคี”
ในซูเราะฮ์อัลอันอาม อายะฮ์ที่ 161
จงกล่าวเถิด (มูฮัมมัด) ว่าแท้จริงนั้น
พระเจ้าของฉันได้แนะนำฉันไปสู่ทางอันเที่ยงตรงคือศาสนาที่เที่ยงแท้อันเป็นแนวทางของอิบรอฮีมผู้ใฝ่หาความจริง
และเขา(อิบรอฮีม) ไม่เป็นผู้อยู่ในหมู่ผู้ให้ภาคีนั้น
ในซูเราะฮ์อาละอิมรอน
อายะฮ์ที่ 95
จงกล่าวเถิด (มูฮัมมัด) ว่าอัลลอฮ์นั้นตรัสจริงแล้ว
ดังนั้นพวกเจ้าจงปฏิบัติตามแนวทางของอิบรอฮีมผู้หันออกจากความเท็จสู่ความจริงเถิด
และเขาไม่เคยอยู่ในหมู่ผู้ให้มีภาคี (แก่อัลลอฮ์)
ในซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์
อายะฮ์ที่ 135
และพวกเขากล่าวว่า พวกท่านจงเป็นยิวเถิด
หรือเป็นคริสต์เถิด พวกท่านก็จะได้รับคำแนะนำอันถูกต้อง จงกล่าวเถิด
(มูฮัมมัด) หาใช่เช่นนั้นไม่
แนวทางของอิบรอฮีมผู้ใฝ่หาความความจริงต่างหาก
และเขาไม่เคยเป็นผู้สักการะเจว็ด
ในซูเราะฮ์อันนิซาอ์
อายะฮ์ที่ 125
และผู้ใดเล่าจะมีศาสนา
ดียิ่งไปกว่าผู้ที่มอบใบหน้าของเขาให้แก่อัลลอฮ์
และขณะเดียวกันเขาก็เป็นผู้กระทำดี และปฏิบัติตามแนวทางของอิบรอฮีมผู้ใฝ่หาความจริงและอัลลอฮ์
ได้ถือเอาอิบรอฮีมเป็นสหาย
จากคัมภีร์ที่ยกมานี้
ในอัลกุรอ่านยังได้บอกว่า
มูฮัมมัดนั้นยังไม่ได้มาสอนสิ่งใหม่ๆ
ในซึ่งความเป็นจริงอัลกุรอ่านได้บอกกับพวกเราว่า
ท่านนบีมูฮัมมัดมาเพื่อช่วยเปิดเผยเพื่อเป็นการยืนยันว่าสิ่งใดไม่ถูกต้อง
มีสิ่งใดที่เข้ามาแทน สิ่งใดที่มีเพิ่มเข้าไป
และมีสิ่งใดบ้างที่ยกเลิกไป เพื่อเป็นการยืนยันในซูเราะฮ์อัลอะฮ์ก็อฟ
อายะฮ์ที่ 9 ; 12
จงกล่าวเถิดมูฮัมมัด
ฉันไม่ได้เป็นคนแรกในบรรดาร่อซู้ล
และฉันไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นแก่ฉันและแก่พวกท่าน
ฉันมิได้ปฏิบัติตามสิ่งใดนอกจากสิ่งที่ถูกว่าฮีให้แก่ฉัน
และฉันมิใช่ใครอื่นนอกจากเป็นผู้ตักเตือนอันชัดแจ้ง . . . และก่อนหน้านี้
(อัลกุรอ่าน) มีคัมภีร์ของมูซาเป็นแบบอย่าง
และความเมตตาและนี่อัลกุรอ่านเป็นคัมภีร์ที่ยืนยันเป็นภาษาอาหรับ
เพื่อตักเตือนผู้กระทำความผิด และเป็นข่าวดีสำหรับผู้กระทำความดี
ซูเราะฮ์ฟุศศิลัต อายะฮ์ที่ 43
ไม่มีสิ่งใดที่ถูกกล่าวแก่เจ้า
เว้นแต่ได้มีการกล่าวขึ้นแล้ว แก่บรรดาร่อซู้ลก่อนหน้าเจ้า
แท้จริงพระเจ้าของเจ้านั้นแน่นอน พระองค์ทรงเป็นผู้อภัย
และเป็นผู้ลงโทษอย่างเจ็บปวด
ซูเราะฮ์อัชชูรอ อายะฮ์ที่ 13
พระองค์ได้ทรงกำหนดศาสนาแก่พวกเจ้าเช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงบัญชาแก่นัวะฮ์
และที่เราได้ว่าฮีแก่เจ้า ก็เช่นเดียวกับที่เราได้บัญชาแก่อิบรอฮีมและ
มูซา และอีซาว่า พวกเจ้าจงดำรงศาสนาไว้ให้มั่นคง และอย่าแตกแยกกันในเรื่องของศาสนา
แต่เป็นเรื่องใหญ่แก่พวกตั้งภาคีที่เจ้าเรียกร้อง
เชิญชวนพวกเขาไปสู่ศาสนานั้น อัลลอฮ์ทรงเลือกสาหรับพระองค์
ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์และทรงชี้แนะทางสู่พระองค์ ผู้ที่ผินหน้าสู่พระองค์
เป็นหมายสำคัญที่เริ่มมาจากนบีอิบรอฮีมที่ท่านได้ขยายอาณาเขตแดนออกไปโดยความมีศีลธรรม
และประชาชาติของพระเจ้า ที่ท่านได้นำความเชื่อมาสู่นบีมูซา
เป็นผลลัพธ์ที่ทำให้เกิดชนชาติของพระเจ้าแผ่ขยายออกไปมากขึ้นและชนชาติเหล่านั้นได้นำไปปฏิบัติร่วมกัน
โดยร้อยปีก่อนที่ท่านนบีมูฮัมมัดจะมานั้นมุสลิมยังได้ประพฤติคู่กันไปกับแนวทางของไบเบิ้ล
ซึ่งขัดแย้งกับมุสลิมบางกลุ่มที่ยังมีความเชื่อเช่นเดียวกับชาวคริสต์
แต่เป็นสิ่งที่ดี ซึ่งไม่ใช่วัฒนธรรมใหม่หรือศาสนาใหม่
นี่คือสิ่งที่มุสลิมสามารถปฏิบัติได้
ตามวิถีทางของคัมภีร์ไบเบิ้ลซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดแต่อย่างใด
เป็นการส่งเสริมความเชื่อให้เกื้อกูลกัน
มีตัวอย่างที่ช่วยให้เกื้อหนุนกันได้เช่น
- ทำให้พบทางแห่งสันติสุข ถ้าจะเข้าไปในเรือนใดๆ
จงพูดก่อนว่า “ให้ความสุขมีแก่เรือนนี้เถิด อินญีล
ลูกาบทที่ 10 ข้อ 5
- ทำการชำระก่อนที่จะขอดุอาอ์ มูซากับฮารูน
และบุตรชายของท่านล้างมือและเท้าที่ขันนั้น
เวลาที่เขาทั้งหลายจะเข้าไปในเต๊นท์นัดพบหรือเข้าไปในแท่นนั้นเมื่อไร
เขาก็จะชำระล้างเสียก่อน ตามที่พระเจ้าทรงบัญชาแก่มูซา ในอพยพบทที่
40 ข้อ 31-32
- ถอดรองเท้าในช่วงเวลาที่เข้าเฝ้าพระเจ้า
พระองค์จึงตรัสว่า “อย่าเข้ามาใกล้ที่นี่
ถอดรองเท้าของเจ้าออกเสีย
เพราะว่าที่ซึ่งเจ้ายืนอยู่เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์” ในอพยพบทที่
3 ข้อ 5
- ขอดุอาอ์ในยามที่อ่อนล้า มาเถิดให้เรานมัสการและกราบลง
ให้เราคุกเข่าลงต่อพระเจ้าผู้ทรงสร้างพวกเรา ในซ่าบูร
สดุดีบทที่ 95 ข้อ 6
- เชือดสัตว์เป็นพลีทาน พระเจ้าตรัสกับมูซา
หลังจากที่บุตรทั้งสองของฮารูนสิ้นชีวิต
คือเมื่อเขาเข้ามาใกล้พระเจ้าและถึงแก่ความตาย และพระเจ้าตรัสกับมูซาว่า
“เจ้าจงบอกฮารูนพี่ชายว่า อย่าเข้าไปในอภิสุทธิ์สถาน ตลอดทุกเวลา
คือเข้าไปหน้าพระที่นั่งพระกรุณาซึ่งอยู่บนหลังหีบ เกลือกว่าเขาจะต้องตาย
เพราะว่าเราจะปรากฏในเมฆเหนือพระที่นั่งกรุณา
แต่ฮารูนจะเข้ามาในที่บริสุทธ์ได้ดังนี้คือให้เอาวัวหนุ่มตัวหนึ่งไปเป็นเครื่องบูชาไถ่บาป
และแกะผู้ตัวหนึ่งเป็นเครื่องเผาบูชา ให้เขาสวมเสื้อป่านบริสุทธิ์
และสวมกางเกงผ้าป่าน คาดเจียระบาดผ้าป่าน และสวมผ้ามาลาป่าน
นี่เป็นเครื่องแต่งกายบริสุทธิ์ เขาจะต้องอาบน้ำแล้วจึงสวม
และให้เขานำแพะผู้สองตัวเป็นเครื่องบูชาไถ่บาปกับแกะผู้ตัวหนึ่ง
เป็นเครื่องเผาบูชาจากชุมนุมชนอิสราเอล และฮารูนจะถวายวัว
เป็นเครื่องบูชาไถ่บาปของตน เลวีนิติบทที่ 16 ข้อ
1-6
- สามารถนมัสการพระเจ้าได้ทุกแห่ง
แต่ทูตองค์หนึ่งขององค์พระผู้เป็นเจ้าได้สั่งฟิลิปว่า
“จงลุกขึ้นไปยังทิศใต้ตามทางที่ลงไปจากกรุงเยรูซาเล็มถึงเมืองกาซา”
(ซึ่งเป็นทางเปล่าเปลี่ยว)
ฝ่ายฟิลิปก็ลุกขึ้นไปและดูเถิดมีชาวเอธิโอเปียคนหนึ่งเป็นขันที
เป็นข้าราชการของพระนางคานดาสี พระราชินีของชาว
- เอธิโอเปีย และเป็นนายคลังทรัพย์ทั้งหมดของพระราชินีนั้น
ได้มานมัสการในกรุงเยรูซาเล็ม ขณะนั่งรถกลับไปท่านอ่านหนังสืออิลยาส
ผู้เผยพระวจนะอยู่
ในอินญีล กิจการของอัครทูตบทที่ 8
ข้อ 26-28
- สตรีที่คลุมศีรษะ แต่ผู้หญิงที่อธิษฐาน
และเผยพระวจนะ ถ้าไม่มีผ้าคลุมศีรษะก็ทำความอัปยศแก่ศีรษะ
เพราะเหมือนกับว่านางได้โกนผมเสียแล้ว
ถ้าผู้หญิงจะไม่คลุมศีรษะก็ควรจะโกนผมเสีย
แต่ถ้าการที่ผู้หญิงจะตัดผมหรือโกนผมนั้นเป็นสิ่งที่น่าอับอาย
จงเอาผ้าคลุมศีรษะเสีย
ในอินญีล 1 โครินธ์ บทที่ 11 ข้อ
5-6
- การเข้าสุหนัต ครั้นครบแปดวัน
เป็นวันให้กุมารนั้นเข้าสุหนัต
เขาจึงให้นาม
ว่าอีซาตามซึ่งทูตสวรรค์ได้กล่าวไว้ก่อน เมื่อยังมิได้ปฏิสนธิ์ในครรภ์
ในอินญีล ลูกาบทที่ 2 ข้อ 21
- การถือศีลอด – ละศีลอด
ฝ่ายมูซาเฝ้าพระเจ้าอยู่ที่นั่นสี่สิบวันสี่สิบคืน
มิได้รับประทานอาหารหรือน้ำเลย และท่านจารึกคำพันธสัญญาไว้ที่แผ่นศิลา
คือบัญญัติสิบประการ เตาร็อตอพยพบทที่ 34 ข้อ 28
- การที่ไม่กินหมู หมูเป็นสัตว์แยกกีบ
และมีกีบผ่าแต่ไม่เคี้ยวเอื้องจึงเป็นสัตว์มลทินแก่เจ้า เตาร็อตเลวีนิติบทที่
11 ข้อ 7
|