|
ประวัติการคงอยู่ของคัมภีร์เตารอตและอินญีล
( ตอนที่ 2)
นิกายชิอะมีชุดคำสอนที่แท้จริงของพวกเขาเอง
แต่ความอุตสาหะทั้งหมดในการกลั่นกรองคำสอนของแท้ออกจากของปลอมเหล่านี้ยังคงไม่เพียงพอในการเผยแพร่เพราะมี
คำสอนอยู่มากมายหลายชุดที่อ้างว่าเป็นของแท้มาตรฐานหลักที่ผู้รวบรวมคำสอนเหล่านี้ใช้ในการแยกแยะคำสอนของแท้
ออกจากของปลอมนั้นง่ายในการลอกเลียนแบบ
ดังนั้นมันจึงเป็นการยากอย่างยิ่งยวดในการแยกแยะ
ระหว่างคำสอนที่ทำขึ้นอย่างระมัดระวังกับของแท้พวกนัศรอนีย์ไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงหรือปลอมแปลงคัมภีร์เตารอต
และอินญีลของพวกเขา
มันเป็นของแท้ที่อยู่ในช่วงการถือกำเนิดขึ้นของศาสนาอิสลาม
มันยังคงสภาพเดิมมาจนถึงทุกวันนี้
ถึงแม้ว่าจะมีพวกนัศรอนีย์ร่วมสมัยบางคนที่เป็นผู้เผยแพร่ศาสนาอิสลามจะปรารถนาในการปลอมแปลงคัมภีร์เตารอต
และอินญีลของพวกก็ตามพวกเขาก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสำเนาทั้งหมดและต้นฉบับของมันที่เผยแพร่ไปทั่ว
ในหมู่พวกนัศรอนีย์ที่มีอยู่หลายๆภาษาทั่วโลกได้
!
คัมภีร์อัลกุรอ่านแสดงให้เห็นถึงคำแถลงความโดยเปิดเผยที่ชัดเจนและอีกครั้งถึงความเป็นของแท้ของคัมภีร์เตารอต
และอินญีลแล้วการเตือนให้พวกนัศรอนีย์และชาวยิวอยู่โดยพระบัญญัติของมัน
ถ้าคัมภีร์เตารอตและอินญีลหลุดพ้นจาก การปลอมแปลงในเวลานั้นมาได้
มันก็จะคงสภาพเดิมมาถึงทุกวันนี้ตามข้อเท็จจริงความเป็นของแท้ตามต้นฉบับ
ของคัมภีร์เตารอตและอินญีลในปัจจุบันนั้นต้องย้อนกลับไปหลายศตวรรษก่อนที่จะมีศาสนาอิสลามเสียด้วยซ้ำ
!
เรามีเตารอตและอินญีลที่ท่านนบีมูฮำหมัดรับรองไว้แล้วในสมัยของท่านมากมายและคำสอนที่ย้อนกลับไปเมื่อศตวรรษแรกๆ
ของยุคศาสนาคริสต์
วันนี้มีเอกสารจากต้นปาปิรัสมากกว่า 70 เล่ม มี คัมภีร์
ที่เป็นอักษรกรีกมากกว่า 230 ตัว , และมีตัวอักษรเล็กเกือบ 200
ตัวและคัมภีร์ที่รวบรวมส่วนที่ถูกตัดออกจากพระคัมภีร์หลักอีกประมาณ 250
เล่ม สิ่งที่เก่าแก่ที่สุดจากบรรดาสิ่งเหล่านี้คือเอกสารปาปิรัส Chester
Beatty papyri of the Gospels, Acts and of Paul.
มันอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่สาม
หนังสือโบราญภาษากรีกที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ในศตวรรษที่สี่
เหตุผลหนึ่งว่าทำไมต้นฉบับพระคัมภีร์อินญีลที่เก่าแก่ที่สุดนับพันฉบับเหล่านี้ไม่ได้สืบทอดต่อมาก็เพราะการกระทำทารุณกรรมพวกนัศรอนีย์
พวกนอกรีตที่กระทำทารุณกรรมจะบังคับให้พวกนัศรอนีย์ยอมศิโรราบต่อต้นฉบับคัมภีร์ของพวกเขาและจากนั้นก็ทำลายพวกมันทิ้ง
อย่างไรก็ตามการทำทารุณกรรมได้ยุติลงในศตวรรษที่สี่และสำเนาคัมภีร์อินญีลที่เป็นทางการนั้นมีโอกาสในการสืบทอดได้มากขึ้น
การยอมรับพวกนัศรอนีย์
โดยอาณาจักรโรมันเป็นแรงผลักดันไปสู่การเผยแพร่คัมภีร์พวกนัศรอนีย์และการแปลมันไปสู่ภาษาต่างๆ
ดังนั้นตั้งแต่ศตวรรษที่สี่เป็นต้นมาจึงเป็นไปได้ที่พวกนัศรอนีย์จะเป็นเจ้าของสำเนาคัมภีร์อินญีลที่สมบูรณ์
หรือแม้แต่คัมภีร์ไบเบิ้ลฉบับสมบูรณ์
คัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุดโดยไม่คำนึงถึงขนาดนั้น ( แยกออกมาจาก the Chester
Beatty papyri) เกิดในศตวรรษที่สี่ มันต้องถูกจำให้ขึ้นใจว่า
แม้ว่าจะมีบรรยากาศที่เหมาะแก่การสร้างสรรค์ภายใต้โรม
การกระทำทารุณกรรมต่อพวกนัศรอนีย์และการทำลายล้างพระคัมภีร์ของพวกเขาได้หมดไปแล้วในช่วงรอยต่อของประวัติศาสตร์
ฉบับต่าง ๆ ของคัมภีร์อินญีลยังอยู่ต่อไป
แต่ภาคต่างๆของโลกพวกนั้นก็ไม่ได้ระลึกถึงโรมอีกต่อไป 444444444
อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงยังดำรงอยู่ว่าเรามีต้นฉบับบางส่วนและทั้งหมดของคัมภีร์เตารอตและอินญีล
(ฉบับที่ท่านนบีมูฮำหมัดรับรองว่าถูกต้องใช้ได้)
ที่เกิดขึ้นมาเป็นหลายศตวรรษก่อนที่ศาสนาอิสลามจะถือกำเนิดขึ้น
ฉบับดังกล่าว บางส่วนที่ยังคงมีอยู่นั้นมีรายละเอียดดังด้านล่างนี้ :
ทบัญญัติวาติกัน มันถูกค้นพบในหอสมุดวาติกัน( Vatican ) ในหมวดหมายเลข
1209 และมันอยู่ในหอสมุดมาตั้งแต่ประมาณปี 1481.
บทบัญญัติไซนาย ตัวบทบัญญัติอีกชิ้นหนึ่งที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่สี่
กลุ่มนักบวชของไซนายได้ถวายมันให้กับกษัตริย์ซีซ่าร์แห่งรัสเซียในปี 1862
และในปี 1933 มันถูกซื้อจากรัสเซียไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์อังกฤษในราคา 100,000
ปอนด์
บทบัญญัติวอชิงตัน มันประกอบด้วยคำสอนของท่านอีซาและสาวกทั้งสี่
มันเกิดขึ้นในศตวรรษที่สี่หรือห้าในยุคของคริสต์เตียน
บทบัญญัติอเล็กซานเดรีย มันถูกเขียนขึ้นในอเล็กซานเดรียประมาณศตวรรษที่ห้า
มันถูกค้นพบในพิพิธภัณฑ์อังกฤษ
มันมีเรื่องราวของคัมภีร์เตารอตและอินญีลภาษากรีกทั้งหมดยกเว้นสี่สิบหน้าสุดท้ายที่หายไป
บทบัญญัติไบแซน
บทบัญญัตินี้ได้มาจากศาสนสถานแห่งนักบุญไอเรนเนียสในเมืองลีอองเมื่อปี
1562 มันถูกนำเสนอให้กับหอสมุดของมหาวิทยาลัยเคมบริจในปี 1881
มันเกิดขึ้นย้อนหลังไปเมื่อศตวรรษที่ห้าหรือต้นศตวรรษที่หก
บทบัญญัติคลาโรมอนทานัส บทบัญญัตินี้เกิดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่หก
มันถูกเก็บรักษาไว้ที่ Biblotheque Nationale ในปารีส
บทบัญญัติพีโทรโพลิแทนัส อยู่ในรูปของคำสอนที่เขียนลงบนหนังลูกวัวสีม่วง
มันเกิดในช่วงศตวรรษที่หก
หนึ่งร้อยแปดสิบสองหน้าของมันจากทั้งหมดสองร้อยยี่สิบแปดหน้าถูกค้นพบในรัสเซีย
บทบัญญัติรอสซาเนซิส
อินญีลส่วนหนึ่งได้ถูกบันทึกลงไปด้วยตัวอักษรสีเงินบนหนังลูกวัวสีม่วง
มันเกิดในช่วงศตวรรษที่หก
บทบัญญัติเบราทินัสที่เมืองเบรัท ประเทศอัลบาเนีย
มันเกิดขึ้นในศตวรรษที่หกโดยสาวกท่านอีซา(แมทธิวและมาร์ค)ซึ่งเขียนด้วยตัวอักษรสีเงินบนหนังลูกแกะ
บทบัญญัติเอ็บเฟรมี
ถูกค้นพบที่
Biblotheque Nationale ใน Paris
มันเป็นต้นฉบับที่การเขียนดั้งเดิมนั้นถูกลบหรือขีดฆ่าออกไปบางส่วนจากหนังลูกวัวเพื่อนำกลับมาใช้เขียนใหม่
มันเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ห้า
ข้อความดั้งเดิมของเอกสารนี้เป็นคัมภีร์อินญีลภาษากรีก
มันถูกลบออกในศตวรรษที่สิบสองเพื่อนำหนังลูกวัวมาใช้จารึกเรื่องราวใหม่โดยนักบุญเอ็บเฟรมแห่งไซเรีย
มันเป็นการยากที่จะค้นหางานเขียนดั้งเดิมที่เป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์อินญีล
ชิ้นส่วนกระจัดกระจายจำนวนหนึ่งจากอียิปก็ควรค่าที่จะกล่าวถึง ณ
ที่นี้เช่นกัน พวกมันมีสองทั้งภาษาคือภาษากรีกและอียิปโบราณ
สิ่งที่สำคัญที่สุดในส่วนเหล่านี้คือ T หรือ Ta ในหอสมุด Propaganda ในโรม
มันประกอบด้วยหน้าหนังสือ 17 หน้าโดยลูกาและยอห์น
มันเกิดขึ้นในศตวรรษที่ห้า
บทบัญญัติ P5
มันอาจจะเป็นต้นฉบับของหนังสือที่รวบรวมส่วนต่างๆที่คัดออกจากคัมภีร์เพื่อใช้ในพิธีศักดิ์สิทธิ์
มันเป็นส่วนของคำสอนของสาวกยอห์น มันเกิดขึ้นในศตวรรษที่สาม
เรามีบทบัญญัติอีกบทอื่นๆ นอกจากนี้ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่สามด้วยเช่น
P20, P37, P45 ( บทบัญญัติศตวรรษที่สามแห่งคำสอนคัมภีร์อินญีลทั้งหมด และ
the Book of Acts), P46, P47, P48, P49, P52, P53, P64, P66, P67, และ P72.
มันเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องกล่าวถึงหนังสือที่รวบรวมส่วนต่างๆที่คัดออกจากคัมภีร์อินญีลเพื่อใช้ในพิธีศักดิ์สิทธิ์เล่มต่อไป
พวกมันเป็นหนังสือที่ใช้ในพิธีการนมัสการและการสอนเรื่องหลักธรรม ,
การกระทำ ,
และหนังสือของสาวกในคัมภีร์อินญีลซึ่งถูกแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆให้อ่านในแต่ละวันเป็นเวลาหนึ่งปี
พวกมันถูกแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ : (1)
คำสอนของของท่านอีซาหรือบทเรียนคำสอนจากสาวกของท่าน (2) บทเรียน
Prarapostoli จากบทบัญญัติ the Acts และ Epistles
มีต้นฉบับมากกว่าสองร้อยฉบับของแบบแรกและ 100 ฉบับของแบบหลัง อย่างไรก็ตาม
คัมภีร์ เหล่านี้น่าจะเกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่เก้าหรือหลังจากนั้น
แต่พวกมันเป็นตัวแทนงานเขียนประเภทหนึ่งที่ย้อนหลังไปอีกหลายปีก่อนการมีศาสนาอิสลาม
|